บทความต่อไปนี้นำเสนอโดย นายอาดัม จอห์น (Adam John) ในงานรำลึกเหตุการณ์ตากใบ 17 ปี จัดโดยสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (the Civil Society Assembly for Peace, CAP) เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา
แปลโดย ฮาร่า ชินทาโร่
ขอให้ความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน และสวัสดีทุกท่าน
ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานคืนนี้ที่จัดเพื่อรำลึกถึงรอบคอบ 17 ปีของการสังหารหมู่ที่ตากใบ (the Tak Bai massacre) ก่อนอื่นผมขออภัยที่ผมไม่สามารถพูดสดในรายการนี้ ผมอาศัยอยู่ที่ประเทศสวีเดน และเวลาของเราแตกต่างกันหลายชั่วโมง ณ บัดนี้ผมกำลังสอนหนังสืออยู่ที่กรุงสต็อกโฮล์ม หัวข้าที่ผมได้รับมอบจากเจ้าภาพของงานนี้คือ ภาพรวมเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในปาตานีจากแง่มุมของคนภายนอก
ผมขออนุญาตที่จะนำเสนอแง่มุมสองแง่มุม แง่มุมแรกคือแง่มุมส่วนตัวของผมเอง แต่หลังจากนั้นผมจะอธิบายตามความเข้าใจของผมว่าแง่มุมทั่วไปของชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกเป็นอย่างไร เพราะแง่มุมประเภทที่สองนี้มีความสำคัญมากกว่าความเห็นส่วนตัวของผม เนื่องจากว่า วามเห็นของผมไม่ใช่ความเห็นทั่วไป (typical) ของชาวตะวันตกและผมจะอธิบายว่า เพราะสาเหตุใดผมจึงมีความเห็นเช่นนี้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวหน้าก็คือแง่มุมของคนภายนอกทั่วไปเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในปาตานี
แรก ๆ ผมขออนุญาตนำเสนอความเห็นส่วนตัวของผมก่อน ผมชื่ออาดัม ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญสิทธิมนุษยชนหรือนักปกป้องสิทธิ แต่ผมได้รับเชิญเพื่อพูดในงานนี้และรู้ถึงการสังหารหมู่ที่ตากใบก็เพราะครอบครัวของภรรยาผมมาจากปาตานี ผมยังจำได้เมื่อ 17 ปีที่แล้ว ตอนที่ภรรยาของผม ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพื่อนร่วมสถาบันของผมในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่อังกฤษ เขาเล่าให้ผมฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองชาวประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่อยู่ตามเขตแดนระหว่างมาเลเซียกับไทย ซึ่งเป็นเมืองที่เขาเคยผ่านหลายครั้งเมื่อเขาไปเยี่ยมครอบครัวที่ปาตานีในสมัยเด็ก
ในขณะนั้น ผมยังเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับประเทศไทยหรือปาตานีเลย แต่ผมยังจำได้ในความรู้สึกในตอนนั้นว่า หากผมไม่ได้รับฟังเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่ตากใบโดยตรง ผมก็คงจะไม่มีวันที่จะรู้ถึงเหตุการณ์นั้นได้เลย และผมก็ไม่เคยได้ยินอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ทั้งในรายงานข่าวและการแปลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยด้วย แต่เหตุการณ์นี้ได้ผลัดดันให้ผมมีความอยากรู้เกี่ยวกับความขัดแย้งที่ปาตานีและสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของความขัดแย้งดังกล่าวมากขึ้น
แม้ว่าผมเป็นชาวต่างชาติ แต่ผมอยู่ในสถานะที่เอื้อต่อความเข้าใจถึงความขัดแย้งนี้อย่างดีเพราะผมสามารถเข้าถึงครอบครัวของภรรยาและชุมชนคนปาตานีพลัดถิ่น (Patani Diaspora) ที่ยุโรปด้วย นี่คือเหตุผลที่ทำให้แง่มุมของผมไม่ค่อยเหมือนกับคนอื่น ผมรู้สึกดีใจที่เจ้าภาพของงานคืนนี้ใช้ภาพของผมที่ถ่ายเมื่อผมไปเที่ยวที่ชายหาดแห่งหนึ่งบนเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ใส่เสื้อทีเชิร์ตที่ผมทำเองที่มีคำว่า “Patani self-determination (การกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองของปาตานี)” เพราะคำนี้สามารถสรุปสิ่งที่ผมรู้สึกว่าเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและอีกทั้งยังเกี่ยวก้องกับจุดจบของความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพในพื้นที่แห่งนี้ด้วย
การกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองคือเสรีภาพในการเลือก (Self-determination is the freedom to choose) การกำหนดชะตากรรด้วยตนเองนั้นคือเสรีภาพของผู้คนในการบริหารชุมชนของตัวเอง ผมไม่ใช่เชื่อมั่นในสิทธิกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองของชาวปาตานี (the Patani people) เท่านั้น แต่นี่คือสิทธิสากลและผมเชื่อว่ามีคุณค่าที่สูงกว่าความเคารพต่อเอกภาพของรัฐชาติ (the national integrity of a nation state)
โดยส่วนตัว ผมรู้สึกว่า รัฐชาติมีความสำคัญน้อยลงเพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เรากำลังเผชิญหน้ากัน ณ ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นโดยข้ามชายแดนของแต่ละประเทศ ดังนั้นผมสนับสนุนสิทธิกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองของแต่ละชุมชนมากกว่ารัฐชาติ
ผมมองว่า การละเมิดสิทธิในปาตานีทุกรณีเกิดขึ้นจากจุดยืนของรัฐไทยที่ไม่เคารพสิทธิกำหนดชะกากรรมด้วยตนเองของคนในพื้นที่ การสังหารหมู่ที่ตากใบนั้นคืออีกสัญลักษณ์หนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในรายการโศกนาฏกรรมที่เกิดจากจุดยืนแบบนี้ เช่นเดียวกันกับการปฏิเสธข้อเรียกร้องการปกครองตันเองภายใต้การนำของหะยี สุหลง ที่ตามด้วยการจับกุมและการบังคับสูญหายของท่าน หรือนโยบายการผสมกลมกลืน (assimilation policies)
หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ห้ามการใช้ภาษามลายู และข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับยามที่กำหนดชะตากรรมของคนปาตานีโดยไม่ได้พิจารณาเสียงของคนในพื้นที่ในปี 1909 (ซึ่งเป็นปีที่อังกฤษกับสยามลงนามในสนธิสัญญากรุงเทพฯ ที่ปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับดินแดนมาลายาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษในสมัยนั้น – ผู้แปล)
สัญลักษณ์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญเป็นเครื่องมือในการชักชวน (a recruitment tool) คนในพื้นที่เพื่อจับอาวุธและลุกขึ้นต่อต้านสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นอำนาจยึดครอง (an occupying force) ดังนั้น หากไม่มีแนวทางแก้ไขที่สอดคล้องกับรากเหง้าของปัญหาเหล่านี้และสิทธิกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองของคนในพื้นที่ถูกปฏิเสธต่อ วงงจรแบบนี้จะดำเนินต่อไปโดยไม่มีจุดจบใด ๆ
นี่คือแง่มุมส่วนตัวของผม อย่างไรก็ตาม ดังเช่นผมได้กล่าวไว้ข้างต้น ความเห็นแบบนี้ไม่ใช่ความเห็นทั่วไปของคนภายนอก ดังนั้นมันก็ยังขาดความเหมาะสม (not relevant) ต่อไปนี้ผมจะกล่าวถึงความเห็นทั่วไปของคนภายนอกโดยภาพรวม ผมคิดว่า มันจะเป็นประโยชน์เพราะอาจจะชี้ให้พวกเราเห็นว่า อะไรคืออุปสรรคสำคัญในการเปลี่ยนทัศนคติหรือความเห็นของคนภายนอก ผมขอนำเสนอความเห็นของคนภายนอกสองแบบ ที่มองในแง่ลบ (pessimistic) และที่มองในแง่บวก (optimistic) ผมขอเริ่มจากแง่มุมที่มองในแง่ลบก่อน
ชาวตะวันตกหรือชาวต่างชาติประเภทนี้มองว่าประเทศไทยเป็นสวรรค์ลึกลับ (a mystical paradise) มีชายหาดสวยงามมากมาย อากาศที่มีแสงแดดตลอดทั้งปีและคนในพื้นที่ใจดีมาก ค่าครองชีพก็ถูกมากจนถึงจาวตะวันตกสามารถใช้ชีวิตเหมือนเศรษฐีคนหนึ่ง ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นจริง สิ่งที่ขัดแย้งกับภาพลักษณ์เช่นนี้จึงถือว่าเป็นความไม่สะดวกยิ่งใหญ่ (a major inconvenience) และต้องมองข้ามสิ่งเหล่านี้ด้วย ด้วยเหตุนี้ประเด็นบางประเด็นเช่นระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การค้ามนุษย์ การฉ้อราษฎรบังหลวงของเจ้าหน้าที่ และการละเมิดสิทธิต่อชนกลุ่มน้อย ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับประสบการณ์ของชาวต่างชาติในสวรรค์บนโลกแห่งนี้
แง่มุมที่สอง ที่มองในแง่เชิงบวกของคนภายนอกนั้นเกิดขึ้นเมื่อชาวต่างชาติพร้อมที่จะศึกษาทุกมิติของประเทศไทย รวมไปถึงด้านมืดหรือสิ่งที่ไม่สะดวก (inconvenient) ด้วย ปัญหาสำหรับชาวต่างชาติในการเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยก็คือการที่แทบจะไม่มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย แม้แต่คนไทยที่มาจากภูมิภาคอื่น ๆ ก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่นี้มากนัก ดังเช่นผมได้กล่าวมาแล้ว ผมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับปาตานีก็เพราะผมได้คุยกับคนปาตานีพลัดถิ่น (Patani diaspora) นั่นเอง
แต่คนนอกส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสแบบนี้ คนที่ตั้งใจจะเรียนรู้และอ่านหนังสือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนในปาตานีก็จะรู้ว่ามีข้อมูลต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในพื้นที่แห่งนี้เข้าใจยากและสับสนมากเกินไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้บางคนพอใจกับคำอธิบายง่าย ๆ แต่ไม่ถูกต้องเช่น “นี่คือสงครามศาสนาระหว่างมุสลิมกับชาวพุทธ” หรือเหตุการณ์เป็นฝีมือของกลุ่มอาชญากรหรือ “โจร (bandits)” นั่นเอง
ทำไมมีแง่มุมที่แตกต่างกันเช่นนี้อยู่ในหมู่คนภายนอก
เพื่อเข้าใจถึงแง่มุมของชาวต่างชาติที่มองประเทศไทยเป็นสวรรค์นั้น เราต้องดูที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศไทยกับโลกภายนอก โดยเฉพาะประเทศตะวันตก ประเทศไทยเป็นภาคีทางการเมืองที่สำคัญของสหรัฐและยุโรปตะวันตกในการเผชิญหน้ากับศัตรูตัวหลักของโลกตะวันตกตั้งแต่สมัยสงครามโลกที่สอง – ลัทธิคอมมิวนิสต์ในอดีตและการก่อการร้ายข้ามชาติในปัจจุบัน ไม่มีประเทศใดที่หยิบยกความเป็นจริงที่ไม่สะดวก (uncomfortable truths) เกี่ยวกับภาคีของตันเอง รวมไปถึงประเด็นการละเมิดสิทธิภายในประเทศนั้น นี่คือหลักการที่เราเรียนรู้ในสนามเล่นของโรงเรียน
หากว่าเพื่อนสนิทของคุณทำผิดในโรงเรียน คุณก็ไม่บอกการกระทำของเพื่อนคนนั้นให้คุณครูทราบ แต่คุณก็พร้อมที่จะรายงานถึงคุณครู หากเด็กที่คุณไม่ชอบกระทำผิดทันที และการกระทำของคุณเช่นนี้อาจจะเป็นประโยชน์ของคุณด้วยซ้ำ
ตัวอย่างเช่น ในอังกฤษ การละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นศัตรูของรัฐบาลอังกฤษดังเช่นอิรักจะมีการรายงานในสื่อกระแสหลักเป็นเรื่องปกติ แต่รายงานข่าวเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในประเทศที่เป็นภาคีของอังกฤษดังเช่นซาอุดิอาระเบียมีน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ การรักษาภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นสถานที่สะดวกสบายและมีความหลีลับนั้นจะสะดวกกว่าสำหรับโลกตะวันตก
เพื่อเข้าใจแง่มุมของคนภายนอกแบบที่สอง เราต้องดูสื่อโดยทั่วไปด้วย
ผมมองว่า รายงานข่าวในระดับนานาชาติยังไม่บรรลุผลสำเร็จในการรายงานให้สังคมนานาชาติตระหนักถึงการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นที่ปาตานี ผมไม่ประสงค์ที่จะติเตียนสื่อ เพราะการรายงานเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงของรัฐเป็นงานที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจทหาร (a militarized zone) และการบังคับใช้ของกฎอัยการศึกเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษ
นอกจากนี้ กว่าจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากชุมชุนที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งก็ไม่ใช่ง่ายด้วย นักข่าวที่ทำรายงานจากพื้นที่อย่างจริงจังก็จะตระหนักว่า ความขัดแย้งที่ปาตานีนั้นคือปัญหาทางการเมืองที่เกี่ยวกับสิทธิกำหนดชะตากรรมเป็นประเด็นหลัก แต่หากคุณอยากทำงานในประไทยโดยไม่ต้องกังวลที่จะถูกจับกุมหรือเนรเทศ เรื่องแบบนี้ไม่ต้องพูดถึงดีกว่า
ดังนั้น บุคคลภายนอกก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งที่จำกัดมากและความเข้าใจที่จำกัดเช่นนี้กลับทำให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากมากสำหรับนักข่าวและนักเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชน เนื่องจากไม่มีแรงกดดันจากสังคมนานาชาติ
ดังนั้น ปฏิกิริยาทั่วไปของโลกตะวันตกต่อการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นที่ปาตานีก็คือ การมองข้ามประเด็นนั้น เพราะมันไม่สอดคล้องกับภาพลวงตาของประเทศไทยว่าเป็นสวรรค์บนโลก หรือไม่ก็สรุปไปเองว่า ความขัดแย้งที่ปาตานีนั้นมันสับสนเกินไปกว่าจะเข้าใจได้
ผมได้นำเสนอมาว่าทำไมมีแง่มุมสองแบบนี้เกิดขึ้น และผลที่ตามมาก็คือ การละเมิดสิทธิในปาตานีก็จะไม่ได้รับความสนใจของสังคมนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีแรงกดดันภายนอกที่ผลักดันให้รัฐบาลไทยยอมรับต้นเหตุของความขัดแย้งและประนีประนอมในประเด็นการเมืองเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง และเคารพสิทธิกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองของประชาชน
ความเข้าใจของชาวต่างชาติว่า ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นสวรรค์บนโลกนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยน และข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องกว่านั้นต้องออกไปสู่สังคมโลก
ขอขอบคุณทุกท่านที่รับฟังความเห็นของผม และขอขอบคุณเจ้าภาพอีกครั้งที่เชิญผมเป็นวิทยากรในงานนี้ด้วย
ดูลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง/ต้นฉบับ :
[1] https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=1223490441490008