ข้อท้าทายสำหรับการเจรจาสันติภาพปาตานีและวิกฤตความไว้วางใจระหว่างคู่กรณี

CABARAN RUNDINGAN DAMAI PATANI DAN KRISIS KEPERCAYAAN ANTARA PIHAK
.
วารสาร SURAT ฉบับที่ 106 กรกฎาคม 2024 หน้าที่ 6-7
แปลโดย ชินทาโร่ ฮาร่า

.
การเจรจาสันติภาพในปี 2024 ระหว่างนักล่าอาณานิคมไทยกับนักต่อสู้ปลดปล่อยปาตานีกลายเป็นประเด็นระดับภูมิภาคที่ซับซ้อนและท้าทายยิ่งขึ้น ข้อท้าทายหลักสำหรับกระบวนการสันติภาพครั้งนี้คือวิกฤตความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างลึกระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ในขณะเดียวกัน ผู้อำนวยความสะดวกรัฐบาลมาเลเซียมีบทบาทอันสำคัญมากในการแสดงถึงความเป็นทางการของกระบวนการนั้น และต้องนำบทบาทนั้นอย่างมีเอกภาพและได้รับน่าเชื่อถือจากสังคมนานาชาติ

(องค์กร) การต่อสู้ปลดปล่อยปาตานี ที่เป็นรู้จักในนามแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) ได้ดำเนินการต่อสู้เพื่อเอกราชและสิทธิการปกครองตนเองจากนักล่าอาณานิคมสยามมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 ความขัดแย้งรอบใหม่ครั้งนี้ที่ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 นั้นมีผู้เสียชีวิต 7,000 กว่าคน ส่วนนักล่าอาณานิคมดำเนินปฏิบัติการต่าง ๆ ในรูปแบบการกดขี่และการปกครองแบบอาณานิคมใจสี่จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลาได้แก่จะนะ สะบ้าย้อย เทพา นาทวี และสะเดา พื้นที่แห่งนี้เป็นเป้าหมายของการต่อสู้สำหรับนักต่อสู้ปาตานีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ

ข้อท้าทายหลักสำหรับกระบวนการเจรจา ณ ปัจจุบันนี้คือ วิกฤตความไว้ใจกัน ตามที่มีความขัดแย้งอันยืดยาวนาน ระหว่างนักล่าอาณานิคมไทยกับนักต่อสู้ปลดแอกปาตานียังมีความไม่ไว้ใจกันอย่างสูงอยู่ ประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งกัน ทัศนคติทางการเมืองที่แตกต่างกัน และการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องเป็นอุปสรรคสำหรับการความพยายามในการดำเนินกระบวนการสันติภาพอย่างมีความหมายและมีความไว้ใจกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันแท้จริงและมีศักดิ์ศรี

ถึงแม้ว่ามีความไม่สมดุลกันในด้านอำนาจ โดยฝ่ายนักล่าอาณานิคมไทยมีอำนาจและทรัพยากรมากกว่าหลายเท่า แต่ยังไม่สามารถให้นักต่อสู้ปลดปล่อยปาตานีมั่นใจว่า รัฐบาลไทยมีความจริงจังในการเจรจาสันติภาพหรือไม่ สำหรับนักต่อสู้ปลดปล่อยปาตานี ยังมีข้อสงสัยว่า การเจรจานี้อาจแค่เป็นยุทธศาสตร์เพื่อลดแรงกดดันจากสังคมนานาชาติ แต่หาเป็นความพยายามอันแท้จริง เพื่อแก้ไขปัญหาการปกครองแบบอาณานิคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอันยาวนานไม่

นอกจากข้อท้าทายภายใน (ต่อกระบวนการสันติภาพ) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน. ภาคสี่ ส่วนหน้า) ยังมีการครอบงำต่อกระบวนการมากกว่ารัฐบาลไทยอีก และมีตัวแสดงภายนอกที่มีส่วนได้เสียในกระบวนการเจรจาสันติภาพปาตานีด้วย รวมไปถึงอิทธิพลของประเทศต่าง ๆ ที่มีอำนาจ องค์กรสิทธิมนุษยชน และประชาชนพลเรือนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม นักล่าอาณานิคมก็พยายามหลีกเลี่ยงความเป็นจริงตลอดว่า ปาตานีเป็นดินแดนที่ผูกกรุงเทพฯ ผนวกในปีค.ศ. 1909 จนถึงทุกวันนี้

รัฐบาลมาเลเซียที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ศรี อันวาร์ อิบราฮิม ได้แต่งตั้งผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่ ดาโต๊ะ หะยี โมฮามัด ราบิน บิน บาซีร ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งและจะสามารถช่วยกระบวนการเจรจาได้ในการแสวงหาจุดร่วมในประเด็นต่าง ๆ จนถึงได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย ผู้อำนวยความสะดวกที่เข้าใจวัตถุประสง (ของการเจรจา) และรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งย่อมสามารถรับมือประเด็นอันซับซอนนานาประการ และลดลงข้อกังวลของทั้งสองฝ่ายในการแสวงหาแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนชาติปาตานี

การยกระดับการเจรจาโดยสร้างความไว้วางใจระหว่างคู่กรณีนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนากลไกกระบวนการที่โปร่งใส่และมีความต่อเนื่อง และคาดหวังว่าจะมีการยุติการเป็นปรปักษ์กันในระยะเวลาและพื้นที่ที่ตกลงกัน เพื่อนำไปสู่การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ตามข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่มีความโปร่งใส ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขทางการเมือง ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ส่วนผลที่เกิดจากความจริงจังจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็คือ แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (JCPP)

การทำงานอย่างเป็นรูปธรรมของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะสามารถฟื้นฟูความไว้ใจของประชาชนในสังคมปาตานีได้ โดยอาศัย (ประเด็นต่าง ๆ ที่มีการระบุไว้ในเอกสาร) หลักการทั่วไป ดังเช่น รูปแบบการปกครองที่ปาตานี การยอมรับอัตลักษณ์ของประชาคมปาตานี สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมและกฎหมายชีอะห์ เศรษฐกิจและการพัฒนา การศึกษา และความมั่นคงและความปลอดภัยสำหรับประชาชนปาตานีทั้งปวง

ประเด็นที่กล่าวมาข้างบนนี้ยังต้องการมีบทบาทของสังคมนานาชาติ องค์กรนอกภาครัฐระหว่างประเทศ (INGO) และบทบาทของผู้อำนวยความสะดวกและตัวแสดงอื่น ๆ หลายฝ่าย แต่ยังคงอยู่ในพื้นฐานและจุดยืนเดียวกัน กระบวนการเช่นนั้นจะสามารถช่วยส่งเสริมการเจรจาสันติภาพ โดยเตรียมแปลดฟอร์ม (พื้นที่หรือช่องทาง) ที่ปราศจากการเมืองไทยในบริบทที่แคบและถูกกำหนด (โดยอำนาจรัฐไทย)

การแก้ไขความขัดแย้งที่ปาตานีเป็นกระบวนการอันซับซ้อนและยาก โดยเฉพาะเนื่องจากการปกครองแบบอาณานิคมและวิกฤตความไว้ใจอันยาวนานระหว่างนักล่าอาณานิคมสยามกับนักต่อสู้ปลดปล่อยปาตานี อย่างไรก็ตาม แต่คาดหวังว่า การมีส่วนร่วมอย่างยืนหยัด กระบวนการที่โปร่งใส การสนับสนุนจากสังคมนานาชาติ และผู้อำนวยความสะดวกที่มีความน่าเชื่อถือ จะทำให้กระบวนการสันติภาพรับมือกับข้อท้าทายอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันยั่งยืนและแท้จริง

.
หมายเหตุ : แปลจาก วารสาร SURAT ฉบับ 106 เดือนกรกฎาคม 2024 หน้าที่ 6-7 แปลโดยชินทาโร่ ฮาร่า ซึ่งทาง The Motive เล็งเห็นถึงประโยชน์จากบทความดังกล่าวเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจต่อกระบวนการสันติภาพปาตานีจากมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ และได้รับอนุญาตการแปลความจากกองบรรณาธิการของวารสาร SURAT ซึ่งเป็นวารสารภาษามลายู (รูมี-ยาวี) ที่เผยแพร่อยู่ในต่างประเทศและพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ในรูปแบบของไฟล์พีดีเอฟ มีลักษณะของการส่งต่อในอีเมลล์ เพื่อสื่อสารเรื่องราวสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับขบวนการเอกราชปาตานีในปัจจุบัน