ถอดรหัสจากตัวเลข : การสูญเสียจากวิกฤตโควิดชายแดนใต้

.ถอดรหัสจากตัวเลข : การสูญเสียจากวิกฤตโควิด บ่งบอกสมรรถภาพของรัฐบาล

ผู้เสียชีวิตสะสมชายแดนใต้มีมากถึง 3 ร้อยกว่าคน ปัตตานีติดอันดับ 1 พบมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดถึง 168 ฅน ด้านผู้ป่วยสะสมรวมทั้งชายแดนใต้ 29,141 ฅน (ข้อมูลตั้งแต่เดือน 7 มิ.ย.- 14 ส.ค.) ปัตตานียังคงเป็นที่ 1 หากเทียบตัวเลขกับยะลาและนราธิวาส หลายฝ่ายตั้งสังเกตว่า แม้จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลประกาศมาตราการต่างๆ อย่างเข้มงวด แต่ตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตสะสมและผู้ป่วยสะสมกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ


.
The Motive ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม ผู้ป่วยสะสม และผู้หายสะสม โดยร่วมมือกับกลุ่ม IT4SC และกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม (PHOS) เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ ผู้ที่สนใจ สามารถนำไปประเมินสถานการณ์อันเลวร้ายครั้งนี้ได้ หรือแม้แต่เพื่อหาทางชะลอสถานการณ์จนกว่าจะสามารถหาทางป้องกันการระบาดของเชื้อได้ ซึ่งข้อมูลนี้รวบรวมมาจากสาธารณสุขจังหวัดของแต่ละจังหวัด หรือ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center – EOC)
.
โดยกลุ่มที่ร่วมมือกันข้างต้น ได้พัฒนาและนำเสนอผ่านรูปแบบกราฟ (แผนภูมิแท่งและแผนภูมิเส้น) เจาะจงเฉพาะข้อมูลสถิติในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ดังนี้
.
#ข้อมูลตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสม

ข้อมูลโดยรวมทั้งสามจังหวัดช่วงวันที่ 7 มิ.ย. – 14 ส.ค. จะเห็นได้ว่ามียอดผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 344 ฅน หากแบ่งเป็นจำนวนต่ำสุด-สูงสุด ผู้เสียชีวิตต่ำสุดจะอยู่ที่ 1 ฅน/วัน (ช่วงวันที่ 13, 15, 18, 21, 27, 28 มิ.ย. 1 และ 3 ก.ค.) = 8 ฅน ส่วนผู้เสียชีวิตสูงสุดตัวเลขอยู่ที่ 14 ฅน/วัน (เกิดเหตุเสียชีวิตในวันที่ 27 ก.ค. 3 และ 6 ส.ค.) = 42 ฅน ภายใน 3 วัน เฉลี่ยวันละ 14 ฅน


.
หากจำแนกตามจังหวัด ปัตตานีมีผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 168 ฅน ต่ำสุด 1 ฅน/วัน (ช่วงวันที่ 13, 24, 25, 28 มิ.ย. 3, 10, 28 ก.ค. 9, และ 13 ส.ค.) = 9 ฅน และสูงสุด 10 ฅน/วัน (จะตรงกับวันที่ 27 ก.ค.) ถึงแม้จะเป็นแค่วันเดียว แต่ยอดผู้เสียชีวิตวันที่ 27 ก.ค. นั้น คือ 10 ฅนในหนึ่งวัน ซึ่งมากกว่ายอดต่ำสุดถึง 1 ฅน


.
จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน 76 ฅน ต่ำสุด 1 ฅน/วัน (ช่วงวันที่ 15, 23, 25, 26, 27, มิ.ย. 9, 10, 11, 18, 20, 23, 24 ก.ค. 4, และ 11 ส.ค.) = 14 ฅน สูงสุด 5 ฅนในหนึ่งวัน (ตรงกับวันที่ 12 ก.ค.) จะเห็นได้ว่ายอดเสียชีวิตของวันที่ 12 ก.ค. เท่ากับ 1 ส่วน 3 ของยอดผู้เสียชีวิตต่ำสุดในจังหวัดยะลา คือ 14 ฅน 14 วัน


.
จังหวัดนราธิวาส มีผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน 100 ฅน ต่ำสุด 1 ฅน/วัน (ช่วงวันที่ 18, 21, 26 มิ.ย. 1, 4, 6, 7, 16, 18, 23, 28 และ 8 ส.ค.) = 12 ฅน ยอดสูงสุด 7 ฅนในหนึ่งวัน (ตรงกับวันที่ 30 ก.ค.) ซึ่งต่ำกว่ายอดต่ำสุดถึง 5 ฅน


.
ดูจากตัวเลขแล้วเราจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมในสามจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดปัตตานีติดอันดับหนึ่งของยอดผู้เสียชีวิตมากที่สุด ตามด้วยจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา
.
#ข้อมูลตัวเลขผู้ป่วยสะสม

ด้านผู้ป่วยสะสมทั้งสามจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. – 14 ส.ค. มีจำนวนทั้งสิ้น 29,141 ฅน หากจำแนกเป็นจำนวนต่ำสุด-สูงสุด ผู้ป่วยสะสมต่ำสุดจะอยู่ที่ 29 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 8 มิ.ย.) ส่วนผู้ป่วยสะสมสูงสุดตัวเลขอยู่ที่ 832 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 2 ส.ค.)


.
แต่หากจำแนกเป็นจังหวัด ปัตตานีมีผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 12,473 ฅน ต่ำสุด 4 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 10 ส.ค.) และสูงสุด 378 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 16 ก.ค.)


.
จังหวัดยะลา มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 8,816 ฅน ต่ำสุด 9 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 8 มิ.ย.) สูงสุด 254 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 16 ก.ค.)


.
จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 7,852 ฅน ต่ำสุด 0 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 10 มิ.ย.) ยอดสูงสุด 296 ฅน/วัน (ตรงกับวันที่ 2 ส.ค.)


.
จะเห็นได้ว่ายอดผู้ป่วยสะสมสูงสุดอยู่ที่จังหวัดปัตตานีจำนวน 378 ฅน/วัน รองลงมาจังหวัดนราธิวาสจำนวน 296 ฅน/วัน และจังหวัดยะลา 254 ฅน/วัน ส่วนยอดผู้ป่วยต่ำสุดแต่ละวันจะอยู่ที่จังหวัดยะลาถึงจำนวน 9 ฅน/วัน รองลงมาจังหวัดปัตตานีจำนวน 4 ฅน ตามด้วยจังหวัดนราธิวาส 0 ฅน
.
แต่หากจะดูยอดผู้ป่วยสะสมโดยรวมทั้งหมด อันดับแรกอยู่ที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาสตามลำดับ จากข้อมูลจะเห็นปัตตานีติดอันดับต้นในทุกสัดส่วน ส่วนอีกสองจังหวัดก็สลับกราฟกันไปมา

รวมสถิติยอดผู้ป่วยสะสมระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 64 – 13 สิงหาคม 2464 มีผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 30,829 ราย หายป่วยสะสม 22,713 ราย และ เสียชีวิตรวม ทั้งสามจังหวัด 353 ราย


.
ข้อมูลการระบาดระลอกใหม่

สำหรับการระบาดของเชื้อโควิดระลอกใหม่ตั้งแต่เมษายนนั้น ข้อมูลสถิติทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.จนถึง 14 ส.ค. จะมียอดผู้เสียชีวิดทั้งหมด 353 ฅน หากนำตัวเลขไปลบกับยอดผู้เสียชีวิตสะสมช่วงวันที่ 7 มิ.ย.เป็นต้นไปในจำนวน 344 ฅนนั้น ช่วงระหว่าง เม.ย.-พ.ค.จะมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 9 ฅนเท่านั้น
.
ส่วนจำนวนยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ เม.ย.จนถึงปัจจุบันมียอดทั้งหมด 30,829 ฅน ด้านผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วมียอดสะสมทั้งหมด 22,713 ฅน เท่ากับว่ายอดผู้ป่วยสะสมที่เหลืออยู่ทั้งสามจังหวัดตอนนี้เหลือเพียงแค่ 8,116 ฅน
.
#ประเด็นการตั้งข้อสังเกต

มาตราการการประกาศ Lock down – เคอร์ฟิวของรัฐบาล ทั้งครั้งแรกและครั้งสอง ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.- 16 ส.ค. 2564 นั้นเราสังเกตุเห็นว่ายอดผู้เสียชีวิตสะสมในพื้นที่สามจังหวัดกลับเพิ่มขึ้น จากยอดผู้เสียชีวิต 1 ฅน/วัน หลังถัวเฉลี่ยแล้วเพิ่มเป็น 14 ฅน/วัน (อ้างอิงข้อมูลของวันที่ 27 ก.ค. 3 และ 6 ส.ค.)
.
ส่วนผู้ป่วยสะสมกลับสูงสุดถึง 832 ฅน/วัน (อ้างอิงข้อมูลของวันที่ 2 ส.ค.) ในขณะที่รัฐบาลประกาศมาตราการต่างๆ ที่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในการใช้ชีวิตประจำวันแบบปกติ โดยห้ามออกนอกเคหะสถานที่ ห้ามนั่งทานอาหารในร้าน หรือแม้กระทั้งจำกัดการเคลื่อนไหวในการเดินทางข้ามจังหวัด เป็นต้น
.
มีคำกล่าวว่า ตัวเลขไม่เคยโกหก ตัวเลขเชื่อถือได้เสมือนหนึ่งความจริงจากพระเจ้า ตัวเลขจึงสามารถฉายให้เห็นภาพการจัดการของรัฐบาล หน่วยงาน และกระทรวง กรมกองที่เกี่ยวข้อง ว่าประชาชนในประเทศนี้เสียหายเพียงไร
.
สามารถดูข้อมูลอัพเดตแต่ละวันได้ที่ : โควิด-19 ปาตานี/ชายแดนใต้

(https://www.the-motive.co/covid19/)
.
.