วันนี้ 16/9/63 ศาลจังหวัดปัตตานีพิพากษาลงโทษจำเลย หมายเลขคดีอ.ดำ 813/2562 นายมูหัมมัดรอมลี เจะยะ โรงเรียนอัลอูลูมุลอิสลามมียะห์ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี (บาบอรอมลี ชือมา) ศาลพิพากษาจำคุก 2 เดือน ปรับ 8,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญา 2 ปี จากเหตุวันที่ 18/6/62 สช.หนองจิกแจ้งความร้องทุกข์ แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ “ข้อหาเปิดปอเนาะ โดยไม่มีใบอนุญาต” วันที่ 24/6/62 พนักงานสอบสวน แจ้งข้อหา จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต และวันที่ 11/10/62 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี
สำหรับคดีนี้ ผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ระเบิดที่ตลาดนัดบ่อทอง ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้มีการควบคุมัวผู้ต้องสงสัยตามกฎหมายพิเศษ 2 คน คือ นายอาซิ มีนา และนายอับดุลรอเซะ สลาวะ และได้มีการดำเนินคดีทั้งสองต่อศาลจังหวัดปัตตานี โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องแล้ว เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ข้อมูลทางการข่าวอ้างว่าหลังเกิดเหตุ ผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปอยู่ในปอเนาะ หรือโรงเรียนอัลอูลูมุลอิสลามมียะห์ (ปอเนาะชือมา) ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวบาบอเจ้าของปอเนาะ คือ นายมูฮัมหมัดรอมลี เจะยะ ไปทำการซักถาม ที่ ค่ายอิงคยุทธบริหาร และได้ปล่อยตัวในภายหลัง เนื่องจากเห็นว่าบาบอไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ต่อมาทางสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอหนองจิก (สช.หนองจิก) ได้มีคำสั่งให้ปอเนาะดังกล่าวหยุดการเรียนการสอนศาสนา เนื่องจากไม่มีใบรับอนุญาต
หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาบาบอ นายมูฮัมหมัดรอมลี เจะยะ และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดปัตตานี ในข้อหา จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต .
ส่วนกรณีที่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ได้การอภัยโทษ ซึ่งถูกจับปี 2557 ถูกดำเนินคดีตัดสินสิ้นสุด ปล่อยตัววันนี้ 16/9/63 และถูกอายัดวันนี้ด้วยหมายจับปี 2557 แต่เป็นคดีที่เกิดเหตุปี 52 โดยตำรวจอ้างว่าไม่รู้เพราะเพิ่งย้ายมา
อัญชนา หีมมิหน๊ะ จากกลุ่มด้วยใจ สะท้อนความเห็นผ่านเฟสบุ๊ค(16/9/63) ว่า “ดูข่าวการอภัยโทษแล้วมีการเผยแพร่ชื่อก็จะไปกระทบกับบุคคลและสังคมที่เขาจะต้องกลับไปอยู่ การถูกตีตรา การถูกปฏิเสธจากสังคม และความคับข้องใจที่มีเพิ่มขึ้น จากการติดตาม ตรวจสอบ ก็จะไม่เป็นผลดีต่อการป้องกันมิให้เกิดการกระทำรุนแรงซ้ำ โจทย์ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องคือการพิจารณากระบวนการหรือโปรแกรมการกลับคืนสู่สังคมที่สร้างความไว้วางใจระหว่างอดีตกองกำลังกับเจ้าหน้าที่รัฐและสังคม”