บรรยายเรื่องโดย อาจารย์ฮาซัน ยามาดีบุ
แปลและเรียบเรียงโดย The Motive
เป็นเรื่องราวตำนานการสู้รบระหว่างราชาเมืองลิกอร์ (จ.นครศรีธรรมราช) กับราชาเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา) เหตุเพราะบุตรชายของราชาเมืองลิกอร์ (จ.นครศรีธรรมราช) แอบชอบบุตรีของราชาเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา) ซึ่งเป็นเจ้าหญิงที่สวยงามมาก แต่ราชาอาณาจักรศรีวิขัยต้องการให้บุตรีของราชาเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา) แต่งงานกับบุตรชายของราชามุลกุลชวา (เมืองชวา ประเทศอินโดนีเซีย)
ราชาเมืองลิกอร์ (จ.นครศรีธรรมราช) รู้เรื่องจึงโกรธมาก เพราะบุตรชายของตนเองเสียใจกับเรื่องนี้มาก ถึงกับกินไม่ลง นอนไม่หลับ จึงนำกองกำลลังทหารเข้าไปสู้รบถึงเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา)
ราชาเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา) จึงนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ไปร้องเรียนราชาเมืองปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ซึ่งเป็นที่ทำการของอาณาจักรศรีวิชัย จนราชาอาณาจักรศรีวิชัยต้องออกคำสั่งให้ยุติสงครามนี้ด้วยการยอมให้บุตรชายของราชาเมืองลิกอร์ (จ.นครศรีธรรมราช) ได้แต่งงานกับบุตรีของราชาเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา) เพราะคิดว่าขืนปล่อยให้มีการสู้รบระหว่างกันอาจไม่ดีต่ออาณาจักรศรีวิชัยมากนัก นานเข้าทั้งสองเมืองนี้อาจอ่อนแอขึ้นมาง่ายต่อการก่อกวนโดยอาณาจักรเขมร ซึ่งเป็นศัตรูหลักของอาณาจักรศรีวิชัย
หลังจากนั้นราชาเมืองซึงโฆรา (จ.สงขลา) ก็ส่งตัวบุตรีของตนไปยังเมืองปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) เพื่อส่งต่อไปยังเมืองลิกอร์ (จ.นครศรีธรรมราช) ผ่านการล่องเรือ เพื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเมืองลิกอร์ (จ.นครศรีธรรมราช)
ดังนั้น เมื่อบุตรชายของราชามุลกุลชวา (เมืองชวา ประเทศอินโดนีเซีย) รู้เรื่องเข้าจึงโกรธเมืองปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) มากที่กระทำเช่นนั้น แต่ราชาเมืองปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) แก้ปัญหานี้ด้วยการยกบุตรีของตนให้กับเจ้าชายมุลกุลชวา (เมืองชวา อินโดนีเซีย) เพื่อเข้าสู่พิธีอภิเษกสมรมแทน ซึ่งความจริงแล้วเจ้าหญิงเมืองปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ก็เป็นญาติสนิทกับเจ้าชายมุลกุลชวา (เมืองชวา อินโดนีเซีย) เนื่องจากเดิมทีราชาอาณาจักรศรีวิชัยก็เป็นชาวมุลกุลชวา (เมืองชวา อินโดนีเซีย) เช่นกัน หลังจากนั้นบ้านเมืองต่างๆ ภายใต้อาณาจักรศรีวิชัยจึงสงบไร้การทะเลาะเบาะแว้งและทำสงครามระหว่างกัน
และในช่วงเวลาเดียวกันชาวฮินดู (ประเทศอินเดีย) ก็คบค้าสมาคมกับชาวปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) อย่างใกล้ชิดมาก โดยมีเหตุผลด้านพัฒนาการการเผยแพร่ศาสนาพุทธของชาวฮินดูที่มีความก้าวหน้าอย่างมากจนนำมาสู่การเข้ารับนับถือศาสนาพุทธของชาวปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว โดยเริ่มเข้าเผยแพร่ผ่านเมืองมุลกุลชวา (เมืองชวา อินโดนีเซีย) และลามมาถึงเมืองปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้)
มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานกันว่า การนำความเชื่อของศาสนาพุทธเข้ามายังเมืองดังกล่าวนำมาสู่การก่อเกิดของภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี มีพระพุทธรูปและผ้าเหลืองเกิดขึ้นทั่วบ้านทั่วเมือง บรรดาราชาและฅนในราชวงศ์รวมทั้งประชาชนได้เดินทางไปฟังการบรรยายศาสนาพุทธในวัดที่เต็มไปด้วยพระพุทธรูปทุกวัน ฅนจีนจะเรียกว่า โต๊ะคง (พระพุทธรูป)
และมีเรื่องราวเล่าขานอีกว่า ชาวมลายูในสมัยนั้นไม่สามารถปลูกข้าวทำนาได้ เนื่องจากราชาได้เลี้ยงช้าง เลี้ยงควายและกระบือด้วยการปล่อยทั่วบ้านเมือง จนนำมาสู่การทำลายข้าวของพืชสวนของชาวบ้าน
โดยผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ช้างและกระบือส่วนใหญ่เป็นของราชาเกือบทั้งหมด แต่หากชาวบ้านต้องการใช้งานสามารถกราบบังคมทูลเพื่อขออนุญาติจากราชาได้
มีอยู่ครั้งหนึ่ง กระบือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฮามุก (Hamuk) เป็นกระบือที่ดุและร้ายกาจมากออกฤธิ์ทำลายข้าวของชาวบ้านไปทั่ว สร้างความลำบากต่อผู้ฅนอย่างมาก และไม่มีใครสามารถจับตัวได้แถมไม่มีใครรู้ด้วยซ้ำว่ากระบือตัวนี้มาจากที่ใด บ้างก็ว่าเป็นกระบือที่มาจากเมืองกือดะห์ (รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย) หลงทางมาตามดวงอาทิตย์ขึ้น
หลังจากนั้นราชาได้เรียกผู้ฅนมาการประชุมร่วมกันเพื่อต้องการจับกระบือตัวนั้นแต่สุดท้ายกระบือตัวนั้นกลับหายไปอย่างไร้ร่องรอย
โปรดติดตาม ตอนต่อไป
—————–
ลิงค์บรรยายต้นฉบับภาษามลายู : https://www.facebook.com/salasilahpatani/videos/1246902318814698/
อ่านเพิ่มเติม :
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 1
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 2
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 3
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 4
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 5
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 6
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 7
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 9
ถอดประวัติศาสตร์มลายูปาตานี ตอนที่ 10