GERBANG KEMENANGAN TERBUKA DALAM KESATUAN DAN PERSATUAN RAKYAT BANGSA MELAYU PATANI
วารสาร Surat ฉบับที่ 83 เดือนกุมภาพันธ์ 2022หน้าที่ 6-7
แปลโดย ชินทาโร่ ฮาร่า
การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิความเป็นเจ้าของ (ต่อดินแดน) และอธิปไตยนั้นเป็นข้อบังคับสำหรับประชาชนปาตานีทุกชนชั้นในสังคม การต่อสู้เพื่อปลดแอกมาตุภูมิที่ตกเป็นอาณานิคมก็ย่อมเป็นความรับผิดชอบของประชาชนปาตานีทุกคนที่ประกอบด้วยภาษาและเชื้อชาติต่าง ๆ และอาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ปัตตานีตะวันตก สตูล นราธิวาสและยะลา การต่อสู้ปลดแอกปาตานีเป็นการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีจากความเป็นอาณานิตม ทุนนิยม นโยบายผสมกลมกลืน และปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ปาตานีตกเป็นอาณานิคม เพราะการยึดครองอาณานิคมโดยชาติใดชาติหนึ่งต่อดินแดนของชาติอื่นต้องกำจัดออกจากโลกใบนี้ รัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงพร้อมกับกองทัพเพื่อยึดครองปาตานีมาเป็นเวลานานแล้ว ส่วน “สนธิสัญญาอังกฤษ-สยาม (สนธิสัญญากรุงเทพฯ)” ในปี ค.ศ. 1909 นั้นเป็นจุดดำในประวัติศาสตร์ และผลที่เกิดจากสนธิสัญญาฉบับนี้ยังส่งผลกระทบจนถึงปัจจุบันนี้ แต่รัฐบาลไทยเริ่มได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากประชาชนชาติมลายูปาตานีที่ลุกขึ้นเพื่อการต่อสู้
การต่อสู้ทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและวัฒนธรรมของชาติเป็นการต่อต้านอำนาจของกรุงเทพฯ ที่ครอบงำชีวิตทุกด้านของประชาชนชาติปาตานี การต่อสู้และการต่อต้านอย่างต่อเนื่องที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและไม่เคยยอมแพ้ขององค์กรปลดปล่อยปาตานีต่าง ๆ นั้นทำให้ฝ่ายกรุงเทพฯ ต้องพิจารณาปฏิบัติการทางการทหารและนโยบายทางการเมืองต่อปาตานี ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ (ฝ่ายรัฐบาลไทย) มีท่าที่จองหองและถือตัวมากเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ในสุดท้ายก็ต้องยอมเลือกแนวทาการเจรจา (พัฒนาการนี้) ถือว่าเป็นผลสำเร็จของชาติมลายูปาตานี และเป็นโอกาสเพื่อแก้ไขประเด็นหลักต่าง ๆ ในความขัดแย้งที่ปาตานีด้วย ดังนั้นกระบวนการนี้ต้องรวบรวมทุกภาคส่วนของขบวนการประชาชนที่เป็นผู้กำหนดทิศทางการปกครองของรัฐปาตานีดารุสสลาม พวกเราจึงต้องให้ความเคารพอย่างสูงสุดต่อบรรดานักต่อสู้ของชาติ (ที่เผชิญหน้ากับรัฐบาลไทย) ที่โต๊ะเจรจา และบรรดาวีรบุรุษของชาติในสมรภูมิที่ยอมเสียสละชีวิตและทรัพย์สินเพื่อปกป้องชะตากรรมของชาติ บุคคลเหล่านี้เป็นเสาหลักสำหรับการต่อสู้ของประชาชน เพราะพวกเขาสามารถเปิดประตูแห่งความขัยชนะ และความชัยชนะก็อยู่ในเงื้อมือของประชาชนชาติปาตานีที่ใช้ชีวิตอยู่บนแผนดินปาตานีที่รัก
การต่อสู้ทางการเมืองได้สร้างความเข้มแข็งของประชาชนและมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นแนวทางแก้ไขทางการเมืองสำหรับความขัดแย้งนองเลือดที่ปาตานี (นอกจากนี้ การต่อสู้ทางการเมือง) ยังสร้างเอกภาพอันเหนียวแน่นและน่าเชื่อถือเพื่อบรรลุเป้าหมายการต่อสู้ของประชาชน ที่นี่ ความเข้มแข็งต้องมีพื้นฐานของการรวมตัวกัน โดยยึดถือความรักต่อสังคมและมาตุภูมิ และความพร้อมที่จะเสียสละทุกอย่างเพื่อการพัฒนาของประชาชาติ ส่วนการต่อสู้ทางเศรษฐกิจนั้นจะให้โอกาสในทุกด้านของการพัฒนาในทุกขั้นตอนอย่างเหมาะสมและสร้างความเป็นมืออาชีพซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
การต่อสู้ทางการทหารเป็นจิตวิญญาณของการต่อสู้ในการสู้รบกับศัตรู และเป็นผู้ปกป้องมาตุภูมิทุกตารางนิ้ว ศัตรูของชาติต้องถูกขับไล่และถูกโจมตีให้ถอยออกจากพื้นที่ในทุกโอกาส โดยโจมตีจุดยุทธศาสตร์ทุกจุดของศัตรู เพื่อให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวและการป้องกันของศัตรูอ่อนแอลง และทำลายจิตใจบุคลากรของศัตรูและลิดรอนใจสู้ของพวกเขาให้ต่ำสุด จนถึงเราสามารถถลมศัตรูของชาติมลายูปาตานี การต่อสู้ทางวัฒนธรรมของชาติมีความสำคัญในการสร้างความแข็งเกร่างสำหรับการต่อสู้ของประชาชนต่อต้านนักล่าอาณานิคม จึงต้องได้รับการสนับสนุนทั้งจากสังคมเมืองและสงคมจนบท และผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบสมัยใหม่และดั้งเดิม รวมถึงผู้มีบทบาทในเศรษฐกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะวัฒนธรรมดั้งเดิมของสังคมมลายูปาตานีเป็นอัตลักษณ์และสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมชาติมลายูปาตานี ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้วัฒนธรรมอื่น ๆ ในโลก ส่วนการต่อสู้ทั้งหมดนี้เป็นการต่อสู้ของประชาชนในการสร้างชาติและรัฐ โดยมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชน โดยมีการสื่อสารที่ให้การชี้แจงและคำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขั้น และตอบสนองประเด็นต่าง ๆ ที่ท้าทายในการดำเนินการต่อสู้และการสร้างเอกภาพของประชาชน
การต่อสู้ปลดปล่อยเป็นความใฝ่ฝันของชาติมลายูปาตานี ที่ดำเนินพร้อมกับสังคมนานาชาติและประเทศที่มีอธิปไตยต่าง ๆ ประชาชนปาตานีจากทุกส่วนของภูมิภาคต้องร่วมตัวกันเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันแบกภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชาติ การต่อสู้ครั้งนี้ดำเนินเพื่อปลดปล่อยปาตานีและเอาคืนสิทธิความเป็นเจ้าของ (ต่อดินแดน) และประชาชนปาตานีก็ต้องร่วมตัวกันและสร้างเครือข่า เริ่มต้นจากภายในและขยายไปยังภายนอก ประชาชนต้องได้รับการดูและสุขภาพและความปลอดภัย ส่วนสังคมต้องได้รับการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยมีการสร้างชาติตามหลักการของอิสลาม ประเทศจะเจริญในเมื่อมีอยู่ภายใต้การคุมครองของกฎหมายชารีอะห์ (ดังเช่นปรากฎในอัลกรุอาน ซูเราะฮฺสะบะอ์ (บท นครสะบะอ์) บที่ 34) “Baldatun Toiyibatun Warobbul Ghafur (นี่เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ และมีพระเจ้าที่ทรงอภัยยิ่ง)”
หมายเหตุ : แปลจาก วารสาร Surat ฉบับที่ 83 เดือนกุมภาพันธ์ 2022หน้าที่ 1 โดยชินทาโร่ ฮาร่า ซึ่งทาง The Motive เล็งเห็นถึงประโยชน์จากบทความดังกล่าวเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจต่อกระบวนการสันติภาพปาตานีจากมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ และได้รับอนุญาตการแปลความจากกองบรรณาธิการของวารสาร SURAT ซึ่งเป็นวารสารภาษามลายู (รูมี-ยาวี) ที่เผยแพร่อยู่ในต่างประเทศและพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ในรูปของไฟล์พีดีเอฟ ในลักษณะของการส่งต่อในอีเมลล์ เพื่อสื่อสารเรื่องราวสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานีในปัจจุบัน