BRN DI MATA RAKYAT PATANI, KOMUNITI ASEAN DAN MASYARAKAT ANTARABANGSA.
วารสาร Surat ฉบับที่ 103 หน้าที่ 5-6 เดือนตุลาคม 2023
แปลโดย ชินทาโร่ ฮาร่า
.
แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani, BRN) ถูกจัดตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งเป็นองค์กรปลดปล่อยประชาชนชาติมลายูปาตานีจากการล่าอาณานิคมของนักล่าอาณานิคมสยามหรือประเทศไทย
.
ในสมัยก่อน ราชอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนมลายูถูกกดขี่โดยวพกจักรพรรดิ์นิยมหรือนักล่าอาณานิคมตะวันตก เช่นโปรตุเกส ฮอลแลนด์ และอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐชาติใหม่ก็เกิดขึ้น เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและสิงคโปร์
.
แต่ประเทศสยามก็ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นภาคีของญี่ปุ่นโดยให้ทางผ่านแก่กองทัพญี่ปุ่น (ที่จะบุกรุกคาบสมุทรมลายูที่อยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษในขณะนั้น) และเป้นนักล่าอาณานิคมสำหรับรัฐมลายูต่าง ๆ อาทิ เคดาห์ ปะลิส กลันตันและตรังกานู
.
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐมลายูเหล่านี้ได้รับการปลดแอกจากความโลภของพวกสยาม และกลายเป็นรัฐที่อยู่ภายใต้การคุมครองของอังกฤษ และในสุดท้ายได้รับเอกราชด้วยเงื่อนไขบางอย่างจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 1957
.
อย่างไรก็ตาม รัฐปาตานียังคงต้องอยู่ภายใต้อำนาจพวกจักรพรรดินิยมและนักล่าอาณานิคมสยามจนถึงวันนี้ เพราะยังถูกผูกมัดด้วย “สนธิสัญญากรุงเทพฯ (Anglo-Siamese Treaty)” ปี ค.ศ. 1909 ปาตานียังเรียกร้องการปลดปล่อยจากนักล่าอาณานิคมสยาม โดยมีการต่อสู้ของประชาชนที่ไม่เคยยอมแพ้ ถึงแม้ว่าเวลาผ่านไปหนึ่งศตวรรษกว่าก็ตาม การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประชาชนชาติมลายูปาตานีไม่เคยหยุดนิ่ง การต่อสู้ของชาวปาตานีก็มีการขึ้นลง เริ่มจากการต่อสู้ของบรรดาราชาสมัยก่อน และได้รับการต่อยอดโดยบรรดาอุลามาอฺ ชนชั้นนำมลายูละผู้นำประชาชนในสมัยใหม่ การต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยของประชาชนชาติมลายูปาตานีภายใต้การนำของบีอาร์เอ็นก็ได้รับความชอบธรรมเป็นการต่อสู้ของประชาชนหังจากมีการลงนามในฉันทามติทั่วไป (ว่าด้วยกระบวนการพูดคุยจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในปี 2013 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชาชนชาติมลายูปาตานีและสังคมปาตานีก็เข้าใจว่า บีอาร์เอ็นทำหน้าที่เป็นตัวแทนที่นำทัศนคติของประชาชนส่วนใหย่บนเวทีนานาชาติ รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 11 ประเทศ และมีสถานะเป็น “ตัวแสดงติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ (armed non-state actor)” ในกรอบกฎหามายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law, IHL) บีอาร์เอ็นเป็นองค์กรปลดปล่อยประชาชนชาติมลายูปาตานี ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย เพราะบีอาร์เอ็นได้ลงนามเอกสาร Deed of Commitment (DOC) (ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงถึงการเคารพต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ฉบับ DOC ที่บีอาร์เอ็นลงชื่อนั้นเกี่ยวกับการคุมครองเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้ง – ผู้แปล) ซึ่งมี 17 มาตราทั้งหมด ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ตระหนักว่า ปาตานีมีองค์ประกอบพื้นที่สมบูรณ์ในการจัดตั้งรัฐชาติที่ไม่ขัดกับกฎบัตรหรือมติใด ๆ ขององค์กรสหประชาชาติ
การต่อสู้ของบีอาร์เอ็นมีมิติที่กว้างขวางเกี่ยวกับบทบาทของสังคมนานาชาติ เพราะบีอาร์เอ็นมีความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในประเทศอาเซียนและประเทศตะวันออกกลาง รวมไปถึงประเทศต่าง ๆ ในสหพันธ์ยุโรป นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับองค์กรสันติภาพสากล ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และองค์กรนอกภาครัฐนานาชาติ (INGO) นอกจากนี้ บีอาร์เอ็นยังมีความสามารถและความเป็นมืออาชีพในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของยุคสมัย ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ทรัพยากรมนุษย์ของบีอาร์เอ็นมุ่งไปสู่การพัฒนาของชาติ และสังคมชาติปาตานีก็กำลังประสบความเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับบีอาร์เอ็นในฐานะเป็นองค์กรการต่อสู้ที่พัฒนาและประสบความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการพัฒนา กระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย แต่การปกครองตนเองและความมั่นคง/ปลอดภัยของประชาชนยังไม่มีความแน่ชัด ซึ่งเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่สำหรับบรรดาสมาชิกของบีอาร์เอ็นและประชาชนปาตานีทั้งปวง
.
.
หมายเหตุ : แปลจาก วารสาร SURAT ฉบับ 103 หน้าที่ 5-6 เดือนตุลาคม 2023 โดยชินทาโร่ ฮาร่า ซึ่งทาง The Motive เล็งเห็นถึงประโยชน์จากบทความดังกล่าวเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจต่อกระบวนการสันติภาพปาตานีจากมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ และได้รับอนุญาตการแปลความจากกองบรรณาธิการของวารสาร SURAT ซึ่งเป็นวารสารภาษามลายู (รูมี-ยาวี) ที่เผยแพร่อยู่ในต่างประเทศและพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ในรูปแบบของไฟล์พีดีเอฟ มีลักษณะของการส่งต่อในอีเมลล์ เพื่อสื่อสารเรื่องราวสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับขบวนการเอกราชปาตานีในปัจจุบัน