ทนายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ ผู้อำนวยการ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ อดีตประธาน มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี อดีตคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เปิดเผยว่า หนังสือเล่มนี้ (ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ชีวิต-มุมมอง-ความคิด) สะท้อนถึงการเยียวยาอย่างหนึ่ง ถ้ามองในมุมของกลุ่มอำนาจรัฐเขาจะเยียวยาด้วยเงินในตัวเลขที่สูง แต่การเยียวยาที่สำคัญกว่านั้น คือ การยอมรับความจริง โดยผู้ที่ถูกกระทำ หรือ ผู้เสียหาย ต้องได้รับรู้ถึงความจริง
ผมเชื่อว่าทุกคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นคดีบุคคลสูญหาย หรือ คดีวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หลายครั้งที่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง บุคคลที่เสียหายเขาไม่ได้เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่แรกว่าจะนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ซึ่งวัฒนธรรมที่มีปัญหาตอนนี้ คือ วัฒนธรรมปล่อยฅนผิดลอยนวล ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผมมองว่ามันคือปัญหา ทั้งที่เป็นโครงสร้างและกลไกของกฎหมาย
แต่ฝ่ายผู้กระทำที่ยอมรับผิดนั้น มันย่อมมีความหมายต่อผู้สูญเสียและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง ตัวอย่างเช่น กรณีการสูญหายของอาจารย์ฮัจยีสุหลง โต๊ะมีนา ในฐานะที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในพื้นที่ เหตุการณ์ผ่านไป 62 ปี มีทายาทของผู้กระทำมากล่าวคำขอโทษ ผู้ถูกกระทำก็รู้สึกสบายใจ
ซึ่งดูเสมือนว่าถ้าเขาไม่กล่าวคำขอโทษ เขาจะไม่สบายใจ ก่อนจากไปเขาต้องพูดคำนี้ออกมาให้ได้ เขาคงจะคิดมานานแล้วว่าถ้ามีโอกาสแล้วเขาต้องพูดคำนี้ และเขาเองก็รู้สึกสบายใจ
แต่หากมองย้อนดูชีวิตของอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เขาอยู่ท่ามกลางแวดล้อมโครงสร้างที่เต็มไปด้วยอำนาจ ฝ่ายหนึ่งเป็นคณะนายทหารจอมพลผิณ ชุณหะวัณ บิดาของพลเอกชาติชาย ชุณะวัณ ซึ่งเป็นบิดาของอาจารย์ไกรศักดิ์
อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคณะนายตำรวจอย่างพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งเป็นลุงเขยของเขา เจ้าของคำขวัญ “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้”
จะเห็นได้ว่าชีวิตของเขาจะสัมผัสอยู่แต่กับคำว่าอำนาจและความรุนแรง แต่ทำไมเขาถึงไม่ถูกหล่อหลอมด้วยอำนาจและความรุนแรง ตรงนี้คือสิ่งที่น่าคิด
แน่นอนในประเด็นด้านความคิด เขาต้องมีปัญหากับครอบครัวของเขามาตลอด เพราะเขาไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ครอบครับเขาทำ แต่เขาไม่ได้มีอำนาจอะไรเพื่อยับยั้งสิ่งเหล่านั้น
แต่อีกชีวิตหนึ่งของอาจารย์ไกรศักดิ์นั้นเขาไม่ได้อยู่แต่เฉพาะในประเทศไทย ผมเชื่อว่าถ้าอาจารย์ไกรศักดิ์อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาตลอดชีวิต และถูกหล่อหลอมด้วยอารมณ์แบบนี้ ผลผลิตก็คงต้องออกมาในรูปแบบนี้
แต่บังเอิญช่วงเวลาหนึ่งบิดาของเขาต้องไปเป็นเอกอัคราชฑูตที่ประเทศอาเจนตินา เขาเลยต้องตามไปอยู่ด้วย ส่งผลให้เขามีโอกาสได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้านในสลัมและชุมชนที่นั่น และไปเป็นนักเคลื่อนไหว หรือ เอ็นจีโอ ในเวลาต่อมา
บทบาทของเขาตรงนี้คงจะมีอิทธิพลอีกด้านหนึ่งต่อความคิดของเขาในการเห็นอกเห็นใจต่อฅนระดับล่าง รวมทั้งฅนยากจน
ชมคลิปฉบับเต็ม :
อ่านเพิ่มเติม :
อาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ตอนที่ 1
อาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ตอนที่ 2
อาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ตอนที่ 3
อาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ตอนที่ 4 อาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ตอนที่ 5