นักศึกษามุสลิมเรียกร้องยุติการซ้อมทรมานต่อ UN และนายกรัฐมนตรี

วันนี้ (26 มิถุนายน 2563) สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเข้ายื่นหนังสือให้กับทางหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยและสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีการพิจารณาและยุติการซ้อมทรมาน รวมทั้งช่วยเหลือเหยื่อให้ได้รับความเป็นธรรม

พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการยุติการซ้อมทรมานจากเจ้าหน้ารัฐในการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างการถูกควบคุมตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ

สำหรับข้อเรียกร้องเพื่อขอให้พิจารณามีดังต่อไปนี้

(1) ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล รงมทั้งหมดความจำเป็นในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ไปแล้ว

แม้ว่ารัฐได้ประกาศยกเลิกการบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิวและได้เข้าสู่การผ่อนปรนระยะที่สี่แล้ว แต่ก็ยังมีการบังคับใช้และคงอานาจจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉินอยู่

ดังนั้น จึงยังมีข้อกังวลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอาศัยอำนาจของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ทั้งนี้รัฐบาลควรเลือกใช้มาตรการทางกฎหมายอื่นๆ เพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคแทนที่ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เช่น การใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เป็นต้น
.
(2) ห้ามไม่ให้มีการคุมตัวในสถานที่ลับ และสถานที่คุมตัวจะต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ สามารถตรวจสอบได้ จะต้องมีการกำหนดสิทธิให้ผู้ถูกคุมขังสามารถแจ้งสถานที่ สภาพคุมขัง กับญาติ หรือ ทนายได้

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวจะต้องบันทึก ชื่อ นามสกุล รูปพรรณสัณฐาน วัน เวลา สถานที่ของการคุมขัง คำสั่งที่ให้มีการจับกุม เหตุผลของการออกคำสั่งจับกุม รวมทั้งวัน เวลา สถานที่ที่มีการปล่อยตัวไป

นอกจากนี้ครอบครัว หรือ ญาติของผู้ถูกคุมตัวสามารถขอให้ศาลสั่งให้ยุติการทรมานได้ และศาลอาจสั่งให้มีการปล่อยตัวเพื่อให้ผู้เสียหายไปพบแพทย์ รวมทั้งออกมาตรการเยียวยาเบื้องต้น
.
(3) การดำเนินคดีได้กำหนดให้ผู้ใดก็ตามที่พบเห็นการกระทำความผิดมีหน้าที่ต้องแจ้ง และเจ้าหน้าที่รัฐรับการร้องเรียนนั้นจะต้องส่งต่อให้กรรมการ

ส่วนในการสอบสวนนั้นคณะกรรมการตามหมวดที่ 3 จะเป็นผู้มีอำนาจในการเลือกคณะสอบสวน “โดยคำนึงถึงหลักประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดกันของตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา กับผู้เป็นพนักงานสอบสวน”

อีกทั้งยังให้มีนักนิติวิทยาศาสตร์ แพทย์ และจิตแพทย์เข้าร่วมในการสืบสวนสอบสวนอีกด้วย

(4) ขอให้มีการประกาศยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้งกฎอัยการศึก และกฎหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ด้วย โดยพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อยู่ภายใต้กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548
.
และมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศเมื่อมีการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 หลังจากนั้นก็มีการประกาศยกเลิกในพื้นที่อื่นๆ ทั่วปรเทศ ยกเว้นจังหวัดชายแดนใต้ที่ยังคงใช้ต่ออย่างต่อเนื่อง

กลับกลายเป็นว่า จังหวัดชายแดนใต้มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษถึง 2 ฉบับตั้งแต่ปี 2548 และ 2549 ตามลำดับจนถึงปัจจุบัน

ด้านสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ยังคาดหวังอีกด้วยว่าทางหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยจะพิจารณาปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว
.
และตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิเสรึภาพ สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รวมถึงความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยจะต้องได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

อนึ่ง วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “วันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล” (International Day in Support of Victims of Torture) แต่ในประเทศไทยมักคุ้นเคยกันในนาม “วันต่อต้านการทรมานสากล”

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมานฯ ของสหประชาชาติ มาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ร่างกฎหมายดังกล่าว

โดยเริ่มแรกนั้น มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาให้มีเรื่องการซ้อมทรมานอยู่ด้วย แต่ร่างแก้ไขกฎหมายอาญาดังกล่าว ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากผู้ที่ทางานต่อต้านการทรมานว่า มีช่องโหว่มาก เช่น ให้นิยามการซ้อมทรมานไว้แคบ เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาคประชาชนเล็งเห็นว่า ต้องมีกฎหมายแยกออกมาพิเศษ เพียงแค่แก้กฎหมายอาญากับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นไม่พอ เพราะเมื่อไหร่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง เช่น กฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะมีการให้อานาจพิเศษเพิ่มให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจมีการละเลยต่อสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายอาญาได้

รูปแบบการซ้อมทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างปี 2562 – 2563 พบว่าถูกจำแนกถึง 8 ประเภท คือ (1) การบังคับให้ยืนเปลือยกายในห้องแอร์เป็นเวลานาน (2) การขู่ทำร้ายญาติและ ครอบครัวของเหยื่อโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง

(3) การทำร้ายร่างกายและการซ้อมทรมานที่ทิ้งร่องรอยของบาดแผล (4) การซ้อมทรมานในลักษณะ Waterboarding (5) การห้ามปฏิบัติศาสนกิจ (6) การย่ำยีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (7) การซ้อมทรมานที่สร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในโดยไม่ทิ้งร่อยรอยภายนอก และ (8) การตบกกหู เป็นต้น
.
อ้างอิง :
[1] https://crcfthailand.org/2020/06/26/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1/?fbclid=IwAR0XrdnZ_d0oFVuUOp0IiGGtWmxvTzM85jw_IrumOWIck6BTAKoqIDRhw4k
[2] https://www.facebook.com/mustfeth/videos/1748386898618529/?tn=%2Cd%2CP-R&eid=ARCj4yhZX9IsYm09iExAVDyKaQO9trgPayGX0ZV9_TtWRcLNVQNwB3lP4H2tO9TG6aiMJzbD6RPfSEAC