“ฅน อาจถูกทำลายได้ แต่ไม่อาจพ่ายแพ้” คำคมที่ทั้งโลกรู้จัก”

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2504 เออร์เนสต์ มิลเลอร์ เฮมมิงเวย์ จบชีวิตด้วยการยิงปืนกรอกปากตัวเอง หลายคนให้เหตุผลว่าเฮมมิงเวย์ตัดสินใจฆ่าตัวตาย เพราะค้นพบว่าพลังสร้างสรรค์ของเขาได้สูญเสียไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว และเขาไม่อาจจะยอมรับความพ่ายแพ้ของตนเองต่อชีวิตได้

ซึ่งดูจะสอดคล้องกับประโยคอมตะของเฮมมิงเวย์ที่ว่า “Man can be killed but not defeated” แปลว่า “คนอาจถูกทำลาย (ฆ่า)ได้ แต่ไม่อาจพ่ายแพ้” จากเรื่อง The old man and the Sea

เออร์เนสต์ มิลเลอร์ เฮมมิงเวย์ (อังกฤษ : Ernest Miller Hemingway ; พ.ศ. 2442-2504) นักประพันธ์นวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกัน ผู้ใช้ลีลาภาษาที่สั้นกระชับ เกิดที่โอค ปาร์ก รัฐอิลลินอยส์ เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวกับหนังสือพิมพ์ เดอะแคนซัสซิตีสตาร์ และเข้าไปเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประจำรถพยาบาลทหารจนได้รับบาดเจ็บเมื่อปี พ.ศ. 2461 ส่งผลทำให้เฮมมิงเวย์ได้รับเหรียญกล้าหาญ

งานสำคัญชิ้นแรกของเฮมิงเวย์ได้แก่งานรวบรวมเรื่องสั้นในชื่อ “ในสมัยของเรา (In Our Time พ.ศ. 2468)” ส่วนงานที่ทำให้เฮมมิงเวย์ประสบผลสำเร็จโดยแท้จริงได้แก่เรื่อง “แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง (The Sun Also Rises พ.ศ. 2469)” ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์เข้าไปอยู่ใน “กลุ่มวัยที่ถูกทอดทิ้ง (lost generation)” ของบรรดาหนุ่มต่างด้าวที่ใช้ชีวิตผจญภัยในฝรั่งเศสและสเปน

ความหลงใหลไฝ่ฝันในวีรกรรมของลูกผู้ชายเกี่ยวกับการทำสงคราม การล่าสัตว์ การตกปลา และการต่อสู้ของวัวกระทิงทำให้งานต่างๆ ของเฮมมิงเวย์รวมทั้ง รักระหว่างรบ (A Farewell to Arms พ.ศ. 2472) ความตายในช่วงบ่าย (Death in the Afternoon พ.ศ. 2475) ศึกสเปน (For Whom the Bell Tolls พ.ศ. 2483) และเฒ่าผจญทะเล (The Old Man and the Sea เขียนจบเมื่อปี พ.ศ. 2495 และ ทำให้เขาได้รับรางวัลรางวัลพูลิตเซอร์ในปีต่อมา)

ในปี พ.ศ. 2497 เฮมมิงเวย์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในฐานะผู้สื่อข่าวในสงครามโลกครั้งที่ 2 เฮมมิงเวย์ได้เข้าร่วมในวันดีเดย์ (พ.ศ. 2487) ด้วย

หลังจากสงครามกลางเมืองสเปนสิ้นสุดลง เฮมมิงเวย์ได้อาศัยอยู่ในคิวบาและอาศัยอยู่ที่นั่นตลอดมาจนเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2503 จึงได้ย้ายกลับสหรัฐอเมริกา

เออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ ผ่านการแต่งงาน 4 ครั้ง และมักเป็นโรคเครียดและหดหู่ หลังจากเกิดความกลัวเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วย เพราะในครอบครัวของเขามีบรรพบุรุษป่วยด้วยโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

หลังจากที่เขาป่วยเรื้อรังรวมกับการดื่มสุรามานานของเขา ส่งผลให้เขาตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยปืนลูกซองแฝดสำหรับล่าสัตว์

ผลงานของเออร์เนสต์ มิลเลอร์ เฮมมิงเวย์

(1) นวนิยาย

  • The Torrents of Spring (พ.ศ. 2469) แปลในชื่อ “กระแสลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ” โดย เชน จรัสเวียง (ไม่ทราบปีพิมพ์) และแปลอีกครั้งในชื่อ “กระแสลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ” โดย ทราย ชยา (พ.ศ. 2530)
  • The Sun Also Rises (พ.ศ. 2469) แปลในชื่อ “แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง” โดย เชน จรัสเวียง (ไม่ทราบปีพิมพ์) และแปลอีกครั้งในชื่อ “หัวใจโลกีย์” โดย เลิศ กำแหงฤทธิรงค์ (พ.ศ. 2558)
  • A Farewell to Arms (พ.ศ. 2472) แปลในชื่อ “รักระหว่างรบ” โดย อาษา ขอจิตต์เมตต์ (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2519) และแปลอีกครั้งในปีเดียวกันในชื่อ “รักระหว่างรบ” โดย สายธาร (พ.ศ. 2519)
  • To Have and Have Not (พ.ศ. 2480) แปลในชื่อ “ชีวิตเถื่อน” โดย กร โกศล (ไม่ทราบปีที่พิมพ์)
  • For Whom the Bell Tolls (พ.ศ. 2483) แปลในชื่อ “ศึกสเปญ” โดย อาษา ขอจิตต์เมตต์ (พ.ศ. 2513)
  • Across the River and into the Trees (พ.ศ. 2493)
  • The Old Man and The Sea (พ.ศ. 2495) แปลในชื่อ “ชายชรากับทะเล” โดย ล. อนันทภูมิ (พ.ศ. 2500) และแปลอีกครั้งในชื่อ “เฒ่าทะเล” โดย สายธาร (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2518) และแปลอีกครั้งในชื่อ “เฒ่าผจญทะเล” โดย วิทย์ ศิวะศริยานนท์ (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2531) และแปลอีกครั้งในชื่อ “ผู้เฒ่าทะเล” โดย เพชร ภาษพิรัช (พ.ศ. 2561) และแปลอีกครั้งในชื่อ “ผจญทะเลใจ” โดย นรา สุภัคโรจน์ (พ.ศ. 2561)
  • Islands in the Stream (ค.ศ. 1970)
  • The Garden of Eden (ค.ศ. 1986) แปลในชื่อ “สวนสวรรค์แห่งความรัก” โดย เชน จรัสเวียง (ไม่ทราบปีพิมพ์)
    .
    (2)รวมเรื่องสั้น
  • The Nick Adams Stories (พ.ศ. 2515) แปลในชื่อ “นิค อาดัมส์” โดย สุจริต เรื้องแสนคำ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2522) และแปลอีกครั้งในชื่อ “นิค อาดัมส์ วัยหนุ่มของศิลปิน” โดย สิทธิชัย แสงกระจ่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2531)
  • Men Without Women (ค.ศ. 1927) แปลในชื่อ “เรื่องของผู้ชาย” โดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ (มกราคม : พ.ศ. 2539)
  • The Snows of Kilimanjaro (ค.ศ. 1961) แปลในชื่อ “หิมะแห่งคิลิแมนจาโร” โดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ (กรกฎาคม : พ.ศ. 2539)
  • Winner Take Nothing (ค.ศ. 1933) แปลในชื่อ “ผู้ชนะที่ปราชัย” โดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ (กุมภาพันธ์ : พ.ศ. 2541)
    .
    (3) สารคดี
  • Death in the Afternoon (1932)
  • Green Hills of Africa (1935)
  • Hemingway, The Wild Years (1962)
  • A Moveable Feast (1964) แปลในชื่อ “ชีวิตนักประพันธ์” โดย สงคราม พ.น. (พ.ศ. 2508) และแปลอีกครั้งในชื่อ “ชีวิตไม่จีรัง” โดย ดวงวิภา สามโกเศศ (พ.ศ. 2519)
  • By-Line: Ernest Hemingway (1967) แปลในชื่อ “ปกิณกคดี ของ เฮมมิงเวย์” โดย ศิริรัฐ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2512)
  • Ernest Hemingway: Cub Reporter (1970)
  • Ernest Hemingway Selected Letters 1917–1961 (1981)
  • The Dangerous Summer (1985)
  • Dateline: Toronto (1985)
  • True at First Light (1999 memoir)
  • Under Kilimanjaro (2005)
  • On Paris (On) (2008)
    .
    ที่มาของข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    .