รากเหง้าของความขัดแย้งเป็นประเด็นสำคัญ จึงต้องได้รับการพิจารณาในกระบวนการสันติภาพ

AKAR KONFLIK ADALAH ISU YANG SERIUS PERLU DIBINCANGKAN DALAM PROSES DAMAI
.
วารสาร SURAT ฉบับที่ 105 มิถุนายน 2024 หน้าที่ 8-9
แปลโดย ชินทาโร่ ฮาร่า

.
การเจรจาสันติภาพเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขสำหรับความขัดแย้งทางอาวุธที่ปาตานี ความขัดแย้งที่ปาตานี่ที่ดำเนินมาหลายร้อยปีนั้นเกิดจากความโลภของสยามในการขยายอำนาจของตน พร้อมกับการนำมาใช้ระบบผสมกลมกลืนและการกดขี่ต่อประชาคมปาตานี ซึ่งเป็นที่มาของความไม่พอใจในหมู่คนปาตานีต่ออำนาจรัฐไทย ประชาชนปาตานีจึงลุกขึ้นต่อต้านหลังจากหะยี สุหลงยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อ
.
แต่รัฐไทยก็ไม่สนใจข้อเรียกร้องดังกล่าว(ข้อเรียกร้อง 7 ข้อ)แม้แต่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น อำนาจรัฐไทยก็ใช้วิธีการกดดันและความรุนแรงจนถึงหะยี สุหลงหายสาบสูญอย่างไม่มีร่องรอยเลย ในขณะเดียวกัน บรรดาสาวกและผู้คนในสังคมที่ทำงานร่วมกับหะยีสุหลงก็ถูกมองว่าเป็นกบฏ พวกเขาจึงต้องหนีออกจากบ้านเกิดและต้องอพยพไปยังต่างประเทศหรือเข้าป่า
.
ซึ่งชัดเจนว่า รากเหง้าหรือสาเหตุหลักของความขัดแย้งที่ปาตานีไม่ใช่ความยากจน ความอยุติธรรม ฯลฯ สถาบันวิจัยต่าง ๆ และรัฐบาลไทยเองก็ต้องศึกษาที่มาของความขัดแย้งอย่างลึกกว่านี้ เพื่อตระหนักว่า รากเหง้าของความขัดแย้งอันแท้จริงนั้นคืออำนาจทางการเมืองและสิทธิความเป็นเจ้าของต่อดินแดนปาตานี
.
ด้วยเหตุนี้ ความขัดแย้งที่ปาตานีไม่ได้เริ่มต้นในปี 2547 แต่ความขัดแย้งจะสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยเฉพาะในเมื่อประชาชนลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิของสังคมมลายูปาตานี และความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการเมืองที่สามารถทำให้คนปาตานีสามารถใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์ขึ้นได้ โดยสร้างศาสนาและชาติ และมีอัตลักษณ์ที่ได้รับการเคารพ
.
ในกระบวนการสันติภาพรอบนี้ นักต่อสู้ปาตานีจึงเรียกร้องอำนาจทางการเมืองจากรัฐบาลไทยเพื่อให้สามารถปกครองตนเอง (self-government) ในจังหวัดที่มีประชาชนชาวมลายูซึ่งประกอบด้วยสี่จังหวัดของปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลาได้แก่จะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวีและสะเดา กระบวนการสันติภาพในช่วงที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยมีความคืบหน้าเท่าไร
.
แต่มีข้อตกลงที่จะพูดคุยประเด็นการยุติการเป็นปรปักษ์กัน (cessation of hostilities agreement, COHA) ตามด้วยการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ (public consultatin) ในช่วงที่มีการหยุดยิง ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อตกลงที่จะจัดตั้งกลไกลติดตาม (monitoring mechanism) เพื่อติดตามการหยุดยิงสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้น ระยากลางหรือระยะยาวก็ตาม
.
ส่วนประเด็นที่เป็นจุดอ่อนของกระบวนการจนถึงมันไม่สามารถมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาก็คือ รัฐไทยยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานสำหรับความไว้วางใจจากฝ่ายตรงกันข้ามได้อย่างเพียงพอ จนถึงไม่มั่นใจว่า จะนำกระบวนการดังกล่าวไปสู่จุดจบซึ่งเป็นการสร้างสันติภาพได้หรือไม่
.
รัฐบาลไทย ณ ตอนนี้คือรัฐบาลประชาธิปไตย แต่การรับมือความขัดแย้งนั้นไม่ได้ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยเลย ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพถูกครอบงำโดยพวกทหารมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดทิศทางการะบวนการหรือการกระทำของตัวแทนฝ่ายรัฐบาลไทย จนถึงตัวแทนจากกองทัพมีอำนาจตัดสินใจมากกว่าหัวหน้าคณะพูดคุยที่เป็นฝ่ายพลเรือน
.
ในการรับมือความขัดแย้งที่ปาตานี ฝ่ายรัฐบาลไทยต้องตระหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับรากเหง้าของความยัดแย้งอันยืดยาวที่ปาตานีซึ่งเป็นการเป็นปรปักษ์กันระหว่างปาตานีกับประเทศไทย โดยมีความแตกต่างในหลายอย่าง ไม่วาจะเป็นชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ศาสนาและความเชื่อ
.
ในประเทศไทย ชาวสยามเป็นชนกลุ่มใหญ่ในทุกด้าน ส่วนชาวมลายูเป็นสังคมชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย รัฐไทยจึงใช้ระบบเลือกปฏิบัติต่อชาวมลายูมุสลิมที่ปาตานีตลอดมาโดยอาศัยสถาบันการศึกษา สังคมการเมือง ฯลฯ
.
อย่างไรก็ตาม สังคมปาตานีจำเป็นต้องปกป้องตัวเองเพื่อคุมครองความเป็นเชื้อชาติที่มีอัตลักษณ์และคุณค่าของตนเอง ตราบใดที่รัฐไทยไม่มีทัศนคติที่เปิดกว้าง และยังไม่มีการประนีประนอมในการยอมรับสิทธิและศาสนาของชาติอื่น ๆ จนถึงพวกเขาสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันได้ กระบวนการสันติภาพก็คงจะประสบอุปสรรคก่อนจะบรรลุผลที่ดี หรือยากที่จะบรรลุสันติภาพอันแท้จริงอย่างมีศักดิ์ศรี และผลที่ตามมาก็คือ ความขัดแย้งก็คงไม่สิ้นสุดอีกต่อไป

.
หมายเหตุ : แปลจาก วารสาร SURAT ฉบับ 105 เดือนมิถุนายน 2024 หน้าที่ 8-9 แปลโดยชินทาโร่ ฮาร่า ซึ่งทาง The Motive เล็งเห็นถึงประโยชน์จากบทความดังกล่าวเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจต่อกระบวนการสันติภาพปาตานีจากมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ และได้รับอนุญาตการแปลความจากกองบรรณาธิการของวารสาร SURAT ซึ่งเป็นวารสารภาษามลายู (รูมี-ยาวี) ที่เผยแพร่อยู่ในต่างประเทศและพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ในรูปแบบของไฟล์พีดีเอฟ มีลักษณะของการส่งต่อในอีเมลล์ เพื่อสื่อสารเรื่องราวสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับขบวนการเอกราชปาตานีในปัจจุบัน
.